เมนู

เรื่องพระอรหันต์ตุ่มน้ำ (จาฏิอรหันต์)


ได้ยินว่า ภิกษุโกหก (ผู้หลอกลวง) รูปหนึ่งฝังตุ่มน้ำใบใหญ่ไว้
ภายในห้องของตน ย่อมเข้าไปในตุ่มในเวลาที่พวกมนุษย์มาหา มนุษย์ทั้งหลาย
จึงถามกันว่า พระเถระไปไหน ดังนี้. ก็เมื่อภิกษุนั้นกล่าวว่า พระเถระ
อยู่ในห้อง ดังนี้ พวกมนุษย์แม้เข้าไปค้นหาอยู่ เมื่อไม่เห็นจึงออกมาแล้ว
กล่าวว่า พระเถระไม่มี ดังนี้ ก็เมื่อภิกษุนั้นกล่าวว่า พระเถระอยู่ภายใน
ห้องนั้นแหละ ดังนี้ พวกมนุษย์จึงเข้าไปอีก พระเถระนั้นออกจากตุ่มแล้ว
มานั่งอยู่ที่ตั่ง. ลำดับนั้น เมื่อมนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวก
กระผมไม่เห็นท่านเมื่อเขามาครั้งแรกจึงออกไป ท่านไปอยู่ที่ไหน ดังนี้ ภิกษุ
นั้น ย่อมแสดงซึ่งความที่ตนเป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ด้วยคำว่า ชื่อว่า สมณะ
ทั้งหลายย่อมไปสู่ที่อันตนปรารถนาแล้ว ๆ ดังนี้.

เรื่องพระอรหันต์ย่านไทร (ปาโรหอรหันต์)


ภิกษุโกหก (ผู้หลอกลวง) อีกรูปหนึ่ง อาศัยอยู่ที่บรรณศาลาใกล้ภูเขา
ลูกหนึ่ง ก็ต้นไทรต้นหนึ่งมีอยู่ที่เงื้อมเขา (เหว) ข้างหลังแห่งบรรณศาลา ราก
ของต้นไทรนั้น ไปปรากฏอยู่ที่พื้นดินส่วนหนึ่ง. มนุษย์ทั้งหลายเดินมาตาม
ทางแล้ว ย่อมนิมนต์ภิกษุนั้นเพื่อภัตตาหาร. ภิกษุนั้นถือบาตรและจีวรแล้ว
โหนลงมาตามรากของต้นไทรนั้น แล้วมาปรากฏตัวใกล้ประตูบ้าน. ลำดับนั้น
ผู้อันมนุษย์ทั้งหลายผู้มาถึงที่ลังถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญท่านมาทางไหน ดังนี้
ภิกษุนั้น ย่อมแสดงซึ่งความที่ตนเป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้วด้วยคำว่า ชื่อว่า ทางอัน
สมณะทั้งหลายมาแล้ว ไม่สมควรถาม สมณะทั้งหลาย ย่อมมาโดยที่อันตน
ปรารถนาแล้ว ๆ. ดังนี้. ก็บุรุษผู้ฉลาดคนหนึ่งฟังเรื่องโดยตลอด ทราบแล้ว

คิดว่า เราจักเฝ้าจับดูภิกษุนี้ ดังนี้ ในวันหนึ่ง เขาเห็นที่เป็นที่ภิกษุนั้นอยู่
ดังนี้ ในวันหนึ่ง เขาเห็นที่เป็นที่ภิกษุนั้น ก้าวลงตามรากต้นไทร จึงตัด
รากไทรนั้นข้างหลัง เหลือไว้เล็กน้อย. ภิกษุผู้หลอกลวงนั้น คิดว่า เราจัก
จับรากไทรก้าวลงไป จึงจับรากไทรนั้น ทีนั้น ก็หล่นลงไปที่ดินเหนียว
บอบช้ำแล้ว เธอทราบว่า ใคร ๆ ทราบเรื่องของตนแล้ว จึงหนีออกไป ดังนี้.
ความเป็นแห่งบุคคลผู้ปรารถนาลามก ชื่อว่า สภาพลามก ก็เมื่อว่า
โดยลักษณะแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า ความที่บุคคลนั้น ยังบุคคลอื่นให้สรร
เสริญความดีอันไม่มีอยู่และความที่ตนเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการรับ ข้อนี้
เป็นลักษณะของความเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ดังนี้.

สิงคนิทเทส


อธิบาย การพูดทิ่มแทง


ชื่อว่า สิงคะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องทิ่มแทง. เครื่องทิ่มแทงนี้
เป็นชื่อของการทิ่มแทงเพราะกิเลส กล่าวคือ ความที่วาจานั้นเป็นเครื่องทิ่มแทง
ชองชาวเมือง. ความเป็นแห่งวาจาเป็นเครื่องทิ่มแทง ชื่อว่าสภาพแห่งวาจาเป็น
เครื่องทิ่มแทง อีกอย่างหนึ่ง อาการเป็นเครื่องพูดทิ่มแทง ก็ชื่อว่า สภาพที่พูด
ทิ่มแทง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้พูดเป็นสีเหลียม ชื่อว่า การพูดเป็นสีเหลี่ยม.
การพูดเป็นสี่คมก็อย่างนั้น. ความเป็นแห่งบุคคลผู้พูดเป็นเหลี่ยมเป็นคู ชื่อว่า
สภาพที่พูดมีเหลี่ยมมีคู. คำนี้ เป็นชื่อของความเป็นของบุคคลผู้ชำนาญการ
พูดทิ่มแทง ซึ่งตระเตรียมไว้ก่อนนั่นแหละ (เช่นกับขุดบ่อล่อปลา) คำนอก
นี้เป็นไวพจน์ของคำพูดทิ่มแทงทั้งนั้น. การพูดทิ่มแทงด้วยอำนาจแห่งกิเลส
ท่านกล่าวไว้ด้วยบทแม้ทั้งหมด ด้วยอาการอย่างนี้.